เมนู

หลุดพ้นแห่งจิต (จริมกจิต) คือ ความดับของ
ภิกษุนั้นย่อมมีได้ เหมือนความดับแห่งประทีป
ฉะนั้น.

จบ ทุติยพลสูตรที่ 4

อรรถกถาทุติยพบสูตรที่ 4


ทุติยพลสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ทุติยพลสูตรที่ 4 มีอาทิว่า สทฺโธ โหติ ได้พรรณนาไว้แล้ว
ในปัญจกนิบาต นั่นแล.
จบ อรรถกถาทุติยพลสูตรที่ 4

5. ปฐมธนสูตร


[5] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 7 ประการนี้ 7 ประการ
เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือศรัทธา 1 ศีล 1 หิริ 1 โอตตัปปะ 1 สุตะ 1
จาคะ 1 ปัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 7 ประการนี้แล.
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ
สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ 7 ทรัพย์เหล่านี้มี
แก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม บัณฑิตเรียก
ผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวตของผู้นั้นไม่เปล่า
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า พึงประกอบ
ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม.

จบ ปฐมธนสูตรที่ 5

อรรถกถาปฐมธนสูตรที่ 5


ปฐมธนสูตรที่ 5

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ธนานิ ได้แก่ชื่อว่าทรัพย์เพราะอรรถว่า เพราะบุคคล
ผู้ไม่ยากจนทำได้.
จบ อรรถกถาปฐมธนสูตรที่ 5